ในยุคปัจจุบัน การทำ Search Engine Optimization (SEO) เป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์ทุกขนาด ประมาณ 70% ของประสบการณ์ออนไลน์เริ่มต้นจากการค้นหาบน Search Engine และมากกว่า 50% ของการเข้าชมเว็บไซต์มาจากการค้นหาแบบออร์แกนิก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการติดอันดับบน Google และ Search Engine อื่นๆ
การอัปเดตอัลกอริทึมของ Google อย่างต่อเนื่อง มีการเน้นย้ำความสำคัญของ:
- เนื้อหาที่มีคุณภาพและตรงประเด็น (E-E-A-T: Experience, Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness)
- ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะบนอุปกรณ์มือถือ
- การใช้เทคโนโลยีล่าสุดในการสร้างและปรับแต่งเนื้อหาอย่างชาญฉลาด
บทความนี้จะแนะนำวิธีการทำ SEO ขั้นพื้นฐานที่ปรับให้เข้ากับแนวโน้มล่าสุด เพื่อช่วยให้คุณเพิ่มโอกาสในการติดอันดับบน Google โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและเจ้าของธุรกิจที่ต้องการเรียนรู้การทำ SEO ด้วยตนเอง
สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนเริ่มทำ SEO
ก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้วิธีทำ SEO มีหลักการสำคัญที่คุณควรทำความเข้าใจ:
- ให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นหลัก: Google เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นพบเนื้อหาของคุณ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้คือกุญแจสำคัญ
- SEO คือการเพิ่มประสิทธิภาพ: ไม่ใช่การหลอกระบบ แต่เป็นการช่วยให้ Google เข้าใจและจัดอันดับเนื้อหาของคุณได้ดีขึ้น
- ไม่มีสูตรสำเร็จ: SEO ต้องอาศัยการทดลองและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- SEO เป็นกระบวนการระยะยาว: ผลลัพธ์ไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลาและความอดทน
- การปรับตัวคือสิ่งสำคัญ: อัลกอริทึมของ Google มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คุณต้องติดตามและปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนการทำ SEO
การทำ SEO ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนหลัก
1. Keyword Research (การวิจัยคีย์เวิร์ด)
Keyword Research คือ กระบวนการค้นหาคำหรือวลีที่ผู้ใช้ค้นหาใน Google เพื่อกำหนดเป้าหมายในการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณในรูปแบบของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับการค้นหา
เครื่องมือวิจัยคีย์เวิร์ดยอดนิยม
- Google Keyword Planner (ฟรี)
- Semrush (เสียเงิน)
- Ahrefs Keywords Explorer (เสียเงิน)
- Moz Keyword Explorer (เสียเงิน)
- Ubersuggest (มีทั้งฟรีและเสียเงิน)
วิธีใช้งาน Ahrefs สำหรับการวิจัยคีย์เวิร์ด
- ล็อกอินเข้าสู่บัญชี Ahrefs
- ไปที่เมนู “Keywords Explorer”
- ป้อนคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
- เลือกประเทศเป้าหมาย
- กดปุ่ม “Search”
- ดูผลลัพธ์คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อมูลปริมาณการค้นหา ความยากในการแข่งขัน และอื่นๆ
- ใช้ตัวกรองเพื่อค้นหาคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเว็บไซต์ของคุณ
ข้อมูลภาพรวม (Overview) ของคีย์เวิร์ดแบบกว้าง (Broad Match) ตามค่าเริ่มต้น
Matching Terms แสดงคีย์เวิร์ดเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีตัวกรองมากมายให้เลือกใช้งาน เพื่อมุ่งเน้นไปที่คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมากที่สุด
การเลือกคีย์เวิร์ด
- ความเกี่ยวข้อง: เลือกคีย์เวิร์ดที่ตรงกับเนื้อหาและบริการของคุณ
- ปริมาณการค้นหา: ดูจำนวนการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน (เป้าหมายขึ้นอยู่กับขนาดของเว็บไซต์และการแข่งขัน)
- ความยากในการแข่งขัน: พิจารณาโอกาสในการจัดอันดับ (เริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ดที่มีการแข่งขันต่ำถึงปานกลาง)
- เจตนาการค้นหา: เข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการอะไรเมื่อค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนั้น (ข้อมูล, การซื้อ, การนำทาง)
คำแนะนำ: ตรวจสอบผลการค้นหา 10 อันดับแรกด้วยตนเองเสมอ เพื่อประเมินโอกาสในการแข่งขันและเข้าใจรูปแบบเนื้อหาที่ Google ชอบสำหรับคีย์เวิร์ดนั้นๆ
2. Content Creation (การสร้างเนื้อหา)
เนื้อหาคือหัวใจสำคัญของ SEO Google ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง ตรงประเด็น และให้คุณค่ากับผู้อ่านมากขึ้นกว่าเดิม
ทำความเข้าใจ Search Intent
Search Intent คือเจตนาหรือความต้องการที่อยู่เบื้องหลังการค้นหาของผู้ใช้ การเข้าใจ Search Intent จะช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ตรงจุด
คุณอาจตีความหมายของเจตนาในการค้นหาจากหนึ่งคีย์เวิร์ดได้หลายรูปแบบ
ตัวอย่าง Search Intent สำหรับคีย์เวิร์ด “อาหารแมว พรีเมี่ยม”:
- ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแมวคุณภาพสูง (Informational)
- ต้องการเปรียบเทียบแบรนด์อาหารแมวพรีเมี่ยม (Commercial)
- ต้องการซื้ออาหารแมวพรีเมี่ยม (Transactional)
เมื่อเช็คผลการค้นหาในหน้าแรกของ Google สำหรับคีย์เวิร์ด “อาหารแมว พรีเมี่ยม” จะสังเกตเห็นว่าหน้าเว็บที่ติดอันดับจะเป็นบล็อกโพสต์สำหรับให้ข้อมูลและมีหน้าสินค้าบ้างบางส่วน
สิ่งนี้เรียกว่า Mixed Intent (เจตนาแบบผสม) ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่ว่าผู้ที่ค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนี้จะต้องการสิ่งเดียวกันแบบ 100% เสมอไป
แต่เมื่อตรวจสอบดูแล้วผลลัพธ์ส่วนใหญ่นั้นเป็นบล็อกโพสต์สำหรับให้ข้อมูล นั่นอาจเป็นประเภทเนื้อหาที่คุณอาจต้องสร้าง หากต้องการทำอันดับและแข่งขันกับเว็บไซต์อื่น ๆ ทั้งนี้อย่าลืมพิจารณาก่อนว่าเหมาะกับเป้าหมายของคุณหรือไม่?
การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ
1. ใช้หลักการ E-E-A-T:
- Experience: แสดงประสบการณ์จริงในหัวข้อที่เขียน
- Expertise: แสดงความเชี่ยวชาญในเนื้อหา
- Authoritativeness: สร้างความน่าเชื่อถือด้วยการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- Trustworthiness: สร้างความไว้วางใจด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
2. เขียนเนื้อหาให้ครอบคลุม:
- ใช้หลักการ Semantic SEO โดยครอบคลุมหัวข้อย่อยและประเด็นสำคัญทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
- ใช้เครื่องมือ Content Gap Analysis เพื่อหาหัวข้อที่คู่แข่งพูดถึงแต่คุณยังไม่ได้กล่าวถึง
- ใช้เครื่องมือ Keyword Research ค้นหาคีย์เวิร์ดเพิ่มเติม เพื่อนำไปสร้างเป็นหัวข้อย่อย
3. สร้างเนื้อหาที่อ่านง่ายและน่าสนใจ:
- ใช้หัวข้อและหัวข้อย่อยเพื่อแบ่งเนื้อหาเป็นส่วน ๆ
- ใช้ย่อหน้าสั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยง Walls Of Text (ย่อหน้าที่ยาวเกินไป)
- ใช้ Bullet points และลิสต์รายการตัวเลขเพื่อให้อ่านง่าย
- เพิ่มรูปภาพ, Infographics, และวิดีโอเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
เพิ่มเติม: การใช้ Bullet points และลิสต์รายการตัวเลข มีแนวโน้มที่จะทำให้หน้าเว็บของคุณถูกจัดอันดับในรูปแบบ Featured Snippet อีกด้วย
4. อัปเดตเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ:
- ตรวจสอบและปรับปรุงเนื้อหาเก่าให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- เพิ่มข้อมูลใหม่ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมหรือหัวข้อนั้น ๆ
5. ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด:
- ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อช่วยในการวิจัยและสร้างโครงร่างเนื้อหา
- ตรวจสอบและปรับแต่งเนื้อหาที่สร้างโดย AI Content Generator ด้วยตนเองเสมอ
- ใช้เทคโนโลยีเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของคู่แข่ง
เพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาส่วนครึ่งหน้าบน
ส่วนครึ่งหน้าบน (Above the Fold) คือส่วนแรกที่ผู้ใช้เห็นเมื่อเข้าชมหน้าเว็บ ควรประกอบด้วย:
- รูปภาพที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเนื้อหา
- หัวข้อหลักที่ชัดเจนและดึงดูดความสนใจ
- ย่อหน้าเกริ่นนำที่สรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหา
การออกแบบส่วนนี้ให้ดีจะช่วยลด Bounce Rate และเพิ่ม Dwell Time ซึ่งเป็นสัญญาณบวกสำหรับ Google
เพิ่ม Call-to-Action (CTA) กระตุ้นการตัดสินใจ
การใช้งาน Call-to-Action (CTA) ปุ่มกระตุ้นการตัดสินใจ ช่วยในการนำทางผู้ใช้ ให้ดำเนินการบางอย่างบนหน้าเว็บไซต์
- สารบัญเนื้อหา (ถ้าเป็นบทความยาว): ช่วยให้ผู้ใช้คลิกไปยังหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ลิงก์ตัวหนังสือ: ช่วยส่งผู้ใช้ไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- ปุ่มสมัคร: ช่วยให้ผู้ใช้ทำการสมัครสมาชิก
- ปุ่มดาวน์โหลด: ช่วยให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์และเอกสาร
- ปุ่มบุ๊คกิ้ง: ช่วยส่งผู้ใช้ไปยังหน้าการจอง
- ฟอร์มอีเมล: ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตามและรับข่าวสาร
3. On-Page SEO (เอสอีโอภายในหน้าเว็บ)
On-Page SEO คือการปรับแต่งองค์ประกอบต่างๆ ภายในหน้าเว็บเพื่อเพิ่มโอกาสในการจัดอันดับ การทำ On-Page SEO ยังคงมีความสำคัญอย่างมาก
Title Tags
- ใส่คีย์เวิร์ดเป้าหมายใกล้จุดเริ่มต้น
- ความยาวประมาณ 50-60 ตัวอักษร (ไม่เกิน 580 Pixels)
- ใช้ภาษาที่ดึงดูดใจและเป็นธรรมชาติ
- แสดงคุณค่าหรือประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับ
- ใช้ตัวเลขและวงเล็บเพื่อดึงดูดสายตา เช่น “10 เทคนิค SEO (ที่ใช้ได้ผลจริง)”
Meta Descriptions
- สรุปเนื้อหาของหน้าเว็บอย่างน่าสนใจ
- ความยาวประมาณ 130-160 ตัวอักษร (ไม่เกิน 920 Pixels)
- ใส่คีย์เวิร์ดเป้าหมายอย่างเป็นธรรมชาติ
- มี Call-to-Action (CTA) ที่ชัดเจน
- ใช้ภาษาที่กระตุ้นอารมณ์และความอยากรู้
ตัวอย่าง การทดสอบความยาวของ Title Tags และ Meta Descriptions
Heading Tags
- ใช้ H1 สำหรับหัวข้อหลัก (เพียงหนึ่งครั้งต่อหน้า)
- ใช้ H2-H6 สำหรับหัวข้อย่อยตามลำดับความสำคัญ
- ใส่คีย์เวิร์ดหลักและคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องในหัวข้อย่อย
- ใช้หัวข้อเพื่อแบ่งเนื้อหาเป็นส่วน ๆ ให้อ่านง่าย
URLs
- ใช้ภาษาอังกฤษที่สื่อความหมาย
- สั้น กระชับ และอธิบายเนื้อหาได้ดี
- ใช้เครื่องหมายขีดกลาง (-) แทนช่องว่าง
- หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข วันที่ หรือคำที่ไม่จำเป็น
- ใส่คีย์เวิร์ดหลักใน URL หากเป็นไปได้
URL Structure ที่แนะนำ
yourdomain.com/serps/
yourdomain.com/red-umbrellas/
yourdomain.com/cars/honda/
yourdomain.com/basic-marketing-guide/
yourdomain.com/blog/top-ten-seo-tools/
URL Structure ที่ไม่แนะนำ
yourdomain.com/yellowshirt/
yourdomain.com/summer_clothing/
yourdomain.com/top-seo-tools-2024/
yourdomain.com/154893415/
yourdomain.com/?p=123
yourdomain.com/2024/04/21/sample-post/
yourdomain.com/🦄✨
yourdomain.com/نعناع/
yourdomain.com/杂货/薄荷/
yourdomain.com/gemüse/
yourdomain.com/การตลาดออนไลน์/
yourdomain.com/home-search-results.jsp…
yourdomain.com/index.php?…
คำแนะนำ สำหรับเว็บไซต์ภาษาไทย
สิ่งนี้ไม่ได้กระทบกับ SEO แต่เป็นเรื่องของความสวยงามและความน่าเชื่อถือ
ไม่ควรใช้ URL ภาษาไทย เนื่องจากจะถูกแปลงเป็นโค้ดเข้ารหัส UTF-8 (ภาษาต่างดาว) ที่อ่านไม่ออกและไม่สวยงาม เมื่อคุณนำ URL ไปใช้งานบนโซเชียลมีเดีย ไฟล์เอกสาร หรือเว็บไซต์อื่น ๆ นั่นอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือสำหรับผู้ใช้งานที่จะคลิกเข้ามา
yourdomain.com/รถโตโยต้า-7-ที่นั่ง/
URL ภาษาไทย ที่ถูกแปลงเป็นโค้ดเข้ารหัส UTF-8 เมื่อใช้งานจริง
exmaple.com/%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b9%82%e0%b8%95%e0%b9%82%…
ให้ทำการแปลง URL ของคุณเป็นภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายเดียวกัน และใกล้เคียงกันมากที่สุดจะส่งผลดีมากกว่า
yourdomain.com/toyota-seven-seats-car/
Image Optimization
- ตั้งชื่อไฟล์ให้มีความหมาย (เช่น blue-running-shoes.jpg)
- ตั้งชื่อรูปภาพให้สื่อความหมาย (เช่น Blue running shoes)
- ใส่ Alt Text ที่อธิบายรูปภาพให้มีความชัดเจน (เช่น Top view of blue running shoes on white background)
- ใส่คีย์เวิร์ด เข้าไปใน ชื่อไฟล์, ชื่อรูปภาพ และ Alt Text
- บีบอัดขนาดไฟล์เพื่อให้โหลดเร็วขึ้น (ใช้เครื่องมือเช่น TinyPNG) หรือใช้รูปแบบไฟล์ WebP สำหรับประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า JPEG และ PNG
- ใช้ Responsive Images สำหรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ต่าง ๆ
Internal Linking
- เชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในเว็บไซต์
- ใช้ Anchor Text ที่มีความหมายและเกี่ยวข้อง
- สร้างโครงสร้างเว็บไซต์ที่เป็นลำดับชั้นและเข้าใจง่าย
- ใช้ Plugin หรือเครื่องมือแนะนำบทความที่เกี่ยวข้องอัตโนมัติ
- ตรวจสอบและแก้ไข Broken Links อย่างสม่ำเสมอ
4. Technical SEO (เอสอีโอทางเทคนิค)
Technical SEO เกี่ยวข้องกับการทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายสำหรับ Search Engine การทำ Technical SEO มีความซับซ้อนอย่างมาก แต่ก็มีเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดการง่ายขึ้นเช่นกัน
การตรวจสอบการจัดทำดัชนี (Indexing)
- เชื่อมต่อเว็บไซต์กับ Google Search Console
- ตรวจสอบรายงาน “Indexing”
- แก้ไขปัญหาการจัดทำดัชนีตามคำแนะนำ
- ใช้คำสั่ง “site:yourdomain.com” ใน Google เพื่อดูหน้าที่ถูก Index
คำแนะนำ: หาก Google ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนี (Indexing) หน้าเว็บได้อย่างถูกต้อง หน้าเว็บนั้นก็จะไม่ปรากฏในหน้าผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา (SERP: Search Engine Results Pages) ของ Google แต่ไม่ใช่ทุกหน้าที่ควรได้รับการจัดทำดัชนี หน้าบางหน้าไม่ควรให้ Google เข้าถึง เช่น หน้ายืนยันคำสั่งซื้อ หน้าขอบคุณของแบบฟอร์ม หรือหน้าแท็กของสินค้า เนื่องจากหน้าเหล่านี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อการจัดอันดับและอาจเป็นหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน
วิธีใช้ Google Search Console ในการตรวจสอบรายงาน Indexing
- ล็อกอินเข้าสู่บัญชี Google Search Console
- ไปที่ Property ของเว็บไซต์
- ไปที่เมนู “Pages” ใต้หมวดหมู่ Indexing
- ตรวจสอบหน้าเว็บที่ถูกละเว้นจากการจัดทำดัชนี ในส่วน Why pages aren’t indexed
สามารถดูสาเหตุที่หน้าเว็บถูกละเว้นจากการจัดทำดัชนีได้จากคำอธิบาย และทำการแก้ไขตามคำแนะนำ จากนั้นจึงส่งให้ Google Search Console ตรวจสอบอีกครั้ง ว่าคุณได้ทำการแก้ไขแล้ว
การสร้าง XML Sitemap
- สร้าง XML Sitemap ด้วย Sitemaps Generator หรือใช้ปลั๊กอิน SEO (สำหรับ WordPress เช่น Yoast SEO)
- ส่ง Sitemap ไปยัง Google Search Console
- อัปเดต Sitemap เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเว็บไซต์
- ใช้ Dynamic Sitemap Generator สำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่
วิธีใช้ Google Search Console ในการส่ง Sitemaps
- ล็อกอินเข้าสู่บัญชี Google Search Console
- ไปที่ Property ของเว็บไซต์
- ไปที่เมนู “Sitemaps” ใต้หมวดหมู่ Indexing
- เพิ่มลิงก์ของ XML Sitemaps ในช่อง Add a new sitemap
- กดปุ่ม “Submit”
การตรวจสอบไฟล์ Robots.txt
- ตรวจสอบการตั้งค่า Robots.txt
- อนุญาตให้ Googlebot เข้าถึงหน้าที่สำคัญ
- บล็อกการเข้าถึงหน้าที่ไม่ต้องการให้จัดทำดัชนี (เช่น หน้า admin, หน้าทดสอบ)
- ใช้เครื่องมือทดสอบ Robots.txt ใน Google Search Console
อาจมีการตั้งค่าไฟล์ robots.txt ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ CMS ของเว็บไซต์ที่ใช้งาน โดยทั่วไปจะอยู่ในส่วนของ Root Directory บนโฮสติ้ง โดยการเข้าผ่าน URL นี้ https://www.yourdomain.com/robots.txt
หากไม่มี คุณจะต้องสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเอง หรือใช้ปลั๊กอิน SEO ในการสร้าง (สำหรับ WordPress) เช่น Yoast หรือ Rank Math ปลั๊กอินเหล่านี้จะมีฟังก์ชันสำหรับการสร้างไฟล์ robot.txt แบบอัตโนมัติ
ความสำคัญของ Robots.txt
Robots.txt มีไว้เพื่อเขียนคำแนะนำให้กับ Googlebot และ Website Crawlers อื่นๆ เกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ เช่น ให้ทำการรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บทุกหน้าที่อยู่ใน sitemap.xml หรือ Block บางหน้าเว็บไม่ให้เข้าถึง
ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า Google สามารถเข้าถึงหน้าเว็บคุณภาพสูงที่ต้องการจัดทำดัชนี (Indexing) ได้ และ Block การเข้าถึงสำหรับหน้าเว็บที่มีคุณภาพต่ำ
การเพิ่มประสิทธิภาพ Core Web Vitals
- ตรวจสอบ Core Web Vitals ใน Google Search Console
- ปรับปรุงความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ
- ใช้ CDN (Content Delivery Network)
- บีบอัดไฟล์ CSS, JavaScript, และรูปภาพ
- ใช้ Lazy Loading สำหรับรูปภาพและวิดีโอ
- ลดการใช้ JavaScript ที่ไม่จำเป็น
- ปรับปรุง First Contentful Paint (FCP) และ Largest Contentful Paint (LCP)
- ลด Cumulative Layout Shift (CLS)
วิธีใช้ Google Search Console ในการตรวจสอบ Core Web Vitals
- ล็อกอินเข้าสู่บัญชี Google Search Console
- ไปที่ Property ของเว็บไซต์
- ไปที่เมนู “Core web vitals” ใต้หมวดหมู่ Experience
- ไปที่เมนู “OPEN REPORT” เพื่อตรวจสอบและรับคำแนะนำในการปรับปรุง
การตั้งค่า HTTPS
- ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ใช้ HTTPS
- ติดตั้ง SSL Certificate หากยังไม่มี
- ตั้งค่า Force HTTPS เพื่อรับรองความปลอดภัย
- ตรวจสอบ Mixed Content Issues และแก้ไข
ตัวอย่าง คำเตือนสำหรับเว็บไซต์ที่ไม่มี HTTPS แสดงถึงความไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน
การตรวจสอบ Domain Redirects
- เลือกใช้ www หรือ non-www อย่างใดอย่างหนึ่ง
- ตั้งค่า 301 Redirects ให้ทุกเวอร์ชันของโดเมนไปยังเวอร์ชันหลัก
- ตรวจสอบ Redirect Chains และลดให้เหลือน้อยที่สุด
Schema Markup
- ใช้ Schema Markup เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ Google เกี่ยวกับเนื้อหาของคุณ
- เลือกใช้ Schema ที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหา (เช่น Article, Product, FAQ)
- ทดสอบ Schema ด้วย Google’s Rich Results Test
5. Link Building (การสร้างลิงก์)
Link Building หรือการสร้าง Backlinks ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของ Google แต่คุณภาพของลิงก์มีความสำคัญมากกว่าปริมาณ
กลยุทธ์การสร้างลิงก์
- สร้างเนื้อหาที่น่าแชร์
- ผลิตเนื้อหาที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์
- สร้าง Infographics, วิดีโอ, หรือ Interactive Content ที่ดึงดูดการแชร์
- ใช้ Social Media เพื่อเผยแพร่เนื้อหา
- Digital PR
- สร้างความสัมพันธ์กับสื่อออนไลน์และบล็อกเกอร์ในอุตสาหกรรมของคุณ
- เสนอข่าวหรือข้อมูลที่น่าสนใจให้กับสื่อ
- ใช้ HARO (Help a Reporter Out) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักข่าว
- Broken Link Building
- ค้นหาลิงก์ที่เสียในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- สร้างเนื้อหาที่ทดแทนลิงก์ที่เสียได้
- ติดต่อเจ้าของเว็บไซต์เพื่อแนะนำการแทนที่ลิงก์ที่เสียด้วยลิงก์ของคุณ
- Guest Posting ที่มีคุณภาพ
- เลือกเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ
- เสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพสูงและให้คุณค่ากับผู้อ่าน
- ใช้ Anchor Text ที่หลากหลายและเป็นธรรมชาติ
- สร้างลิงก์จากพาร์ทเนอร์และธุรกิจที่เชื่อมต่อกัน
- ติดต่อพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขอลิงก์
- เสนอการแลกเปลี่ยนลิงก์กับธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (แต่เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติและไม่ขัดต่อนโยบายของ Google)
- สร้างหน้า “Partners” หรือ “Resources” บนเว็บไซต์ของคุณเพื่อลิงก์ไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- เข้าร่วมและมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์
- มีส่วนร่วมในเว็บบอร์ด, กลุ่มโซเชียล หรือฟอรัม ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของคุณ
- ให้คำแนะนำที่มีคุณค่าและลิงก์ไปยังเนื้อหาของคุณเมื่อเหมาะสม
- สร้างโปรไฟล์ที่สมบูรณ์บนแพลตฟอร์มเหล่านี้พร้อมลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคุณ
ข้อควรระวังในการสร้างลิงก์
- หลีกเลี่ยงการซื้อลิงก์หรือการใช้เครือข่ายลิงก์ที่ผิดกฎของ Google
- ไม่ใช้เทคนิค Link Farming หรือการสร้างลิงก์จำนวนมากจากเว็บไซต์คุณภาพต่ำ
- ระวังการใช้ Anchor Text ที่ตรงกับคีย์เวิร์ดมากเกินไป ให้ใช้ Anchor Text ที่มีความหลากหลาย
- ตรวจสอบคุณภาพของเว็บไซต์ที่ลิงก์มาหาคุณ และปฏิเสธลิงก์ที่ไม่มีคุณภาพ
6. User Experience (ประสบการณ์ผู้ใช้)
User Experience (UX) มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ SEO การสร้าง UX ที่ดีจะช่วยให้ผู้ใช้อยู่บนเว็บไซต์นานขึ้นและมีโอกาสกลับมาใช้งานซ้ำ
การปรับปรุง UX สำหรับ SEO
- เพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ
- ใช้การบีบอัดรูปภาพและไฟล์
- ลดการใช้ปลั๊กอินที่ไม่จำเป็น
- ใช้บริการ CDN (Content Delivery Network)
- เลือกใช้โฮสติ้งที่มีประสิทธิภาพสูง
- ออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานง่าย
- ใช้โครงสร้างเมนูที่เข้าใจง่ายและมีลำดับชั้นที่ชัดเจน
- มีระบบค้นหาภายในเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ
- ใช้ Breadcrumbs เพื่อให้ผู้ใช้ทราบตำแหน่งปัจจุบันบนเว็บไซต์
- สร้างเนื้อหาที่อ่านง่าย
- ใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายและมีขนาดเหมาะสม
- แบ่งเนื้อหาเป็นย่อหน้าสั้นๆ
- ใช้หัวข้อย่อยและ bullet points เพื่อแบ่งเนื้อหา
- ออกแบบ Responsive
- ทำให้เว็บไซต์แสดงผลได้ดีบนทุกอุปกรณ์
- ทดสอบการใช้งานบนอุปกรณ์หลากหลายขนาด
- ใช้ CTA ที่ชัดเจน
- ออกแบบปุ่ม Call-to-Action ให้โดดเด่นและเข้าใจง่าย
- วางตำแหน่ง CTA ในจุดที่เหมาะสมบนหน้าเว็บ
- ลดการรบกวนผู้ใช้
- หลีกเลี่ยงการใช้ Pop-ups ที่รบกวนการอ่าน
- ไม่เล่นวิดีโอหรือเสียงอัตโนมัติ
- ปรับปรุง Site Architecture
- ใช้โครงสร้างเว็บไซต์แบบแบนราบ (Flat Architecture)
- ทำให้ทุกหน้าสามารถเข้าถึงได้ภายใน 3 คลิกจากหน้าแรก
7. Mobile SEO (เอสอีโอสำหรับมือถือ)
เนื่องจาก Google ใช้ Mobile-First Indexing การทำ SEO สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่จึงมีความสำคัญมาก
การทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับมือถือ
- ใช้ Responsive Web Design
- ออกแบบเว็บไซต์ให้ปรับขนาดได้ตามหน้าจออุปกรณ์
- ทดสอบการแสดงผลบนอุปกรณ์หลากหลายขนาด
- เพิ่มความเร็วสำหรับมือถือ
- ใช้ AMP (Accelerated Mobile Pages) สำหรับเนื้อหาที่เหมาะสม
- ลดขนาดไฟล์และการใช้ทรัพยากรบนมือถือ
- ปรับปรุง Mobile UX
- ออกแบบปุ่มและลิงก์ให้ง่ายต่อการกดบนหน้าจอสัมผัส
- หลีกเลี่ยงการใช้ Pop-ups ที่รบกวนการใช้งานบนมือถือ
- ใช้ฟอนต์ขนาดที่อ่านง่ายบนหน้าจอขนาดเล็ก
- ตรวจสอบ Mobile-Friendliness
- ใช้เครื่องมือ Mobile-Friendly Test ของ Google
- แก้ไขปัญหาที่พบจากผลการทดสอบ
- ปรับแต่ง Meta Tags สำหรับมือถือ
- เขียน Title Tags และ Meta Descriptions ที่กระชับและเหมาะสมสำหรับการแสดงผลบนมือถือ
- ใช้ Local SEO
- เพิ่มข้อมูล NAP (Name, Address, Phone) ที่สอดคล้องกันทั่วทั้งเว็บ
- ใช้ Google My Business เพื่อเพิ่มการมองเห็นในการค้นหาท้องถิ่น
8. Measuring SEO Success (การวัดความสำเร็จ)
การวัดผลเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงกลยุทธ์ SEO อย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัดสำคัญ (KPIs) สำหรับ SEO
1. Organic Search Traffic
- ใช้ Google Analytics เพื่อติดตามการเข้าชมจากการค้นหาแบบ Organic
- วิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของ Organic Traffic
- ตรวจสอบหน้าเว็บที่มีประสิทธิภาพสูงและต่ำ
หากจำนวนการเข้าชมทั่วไปของคุณเพิ่มขึ้น นั่นเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าเนื้อหาของคุณถูกใจผู้ใช้งาน คีย์เวิร์ดของคุณอยู่ในอันดับที่ดี ลิงก์ภายในและภายนอกที่คุณสร้างทำงานได้ดี
หากจำนวนการเข้าชมของคุณมีแนวโน้มลดลง เว็บไซต์ของคุณอาจประสบปัญหาด้าน On-site SEO, Technical SEO หรือการกำหนดเป้าหมายคีย์เวิร์ดยังไม่เหมาะสมหรือมีการแข่งขันสูงเกินไป
หากจำนวนการเข้าชมของคุณยังหยุดนิ่ง บางทีเว็บไซต์ของคุณอาจต้องการเวลามากขึ้น ในการที่จะเห็นผลลัพธ์ของ SEO หลังจากการปรับปรุงล่าสุด โดยปกติแล้วจะใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 สัปดาห์ สำหรับเว็บไซต์เก่า และ 6-12 เดือน สำหรับเว็บไซต์ใหม่
2. Keyword Rankings
- ใช้ Google Search Console เพื่อดูอันดับคีย์เวิร์ด
- ติดตามการเปลี่ยนแปลงของอันดับคีย์เวิร์ดหลัก
- ใช้เครื่องมือติดตามอันดับคีย์เวิร์ดเพิ่มเติมหากต้องการข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น
3. Engagement Metrics
- ใช้ Google Analytics ตรวจสอบ Bounce Rate, Average Session Duration, และ Pages per Session
- วิเคราะห์ User Behavior เพื่อเข้าใจว่าผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์อย่างไร
4. Conversion Rate
- ตั้งค่า Conversion Goals ใน Google Analytics
- ติดตาม Conversion Rate จาก Organic Traffic
- วิเคราะห์เส้นทางการ Convert ของผู้ใช้
5. Backlink Profile
- ติดตามจำนวนและคุณภาพของ Backlinks
- ตรวจสอบ Domain Authority และ Page Authority
- วิเคราะห์ Anchor Text ของ Backlinks
6. Page Speed
- ใช้ Google PageSpeed Insights เพื่อตรวจสอบความเร็วของหน้าเว็บ
- ติดตาม Core Web Vitals และปรับปรุงตามคำแนะนำ
7. Click-Through Rate (CTR)
- ตรวจสอบ CTR ของหน้าเว็บในผลการค้นหาผ่าน Google Search Console
- ปรับปรุง Title Tags และ Meta Descriptions เพื่อเพิ่ม CTR
เครื่องมือวัดผล SEO
บทสรุป
การทำ SEO ต้องอาศัยความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน ความคิดสร้างสรรค์ และการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่การยึดมั่นในหลักการที่ดีและการมุ่งเน้นที่การสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในระยะยาว
สิ่งสำคัญที่ควรจำ:
- SEO เป็นการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่การแข่งขันระยะสั้น
- มุ่งเน้นที่การสร้างคุณค่าให้กับผู้ใช้เป็นหลัก
- เริ่มต้นจากการวิจัยคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม
- สร้างเนื้อหาคุณภาพสูงที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้
- ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ
- ติดตามและวิเคราะห์ผลลัพธ์เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์
เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของคุณ สร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของพวกเขา ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง และติดตามผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยความพยายามและความอดทน คุณจะสามารถสร้างการมองเห็นในโลกออนไลน์ที่แข็งแกร่งและยั่งยืนสำหรับธุรกิจของคุณ
จำไว้ว่า SEO เป็นการเดินทางที่ไม่มีจุดสิ้นสุด เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้ใช้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นการเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ ใช้ความรู้ที่คุณได้รับจากคู่มือนี้เป็นจุดเริ่มต้น และไม่หยุดที่จะพัฒนาทักษะ SEO ของคุณ
ขอให้โชคดีในการทำ SEO และประสบความสำเร็จในการสร้างการมองเห็นในโลกออนไลน์สำหรับธุรกิจของคุณ!
คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
โดยทั่วไป คุณอาจเริ่มเห็นผลลัพธ์เบื้องต้นภายใน 3-6 เดือน แต่การเห็นผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญอาจใช้เวลา 6-12 เดือนหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การแข่งขันในอุตสาหกรรม ความถี่ในการอัปเดตเนื้อหา และคุณภาพของกลยุทธ์ SEO
ขึ้นอยู่กับทรัพยากรและเวลาที่คุณมี หากคุณมีเวลาจำกัดหรือต้องการผลลัพธ์ที่รวดเร็วขึ้น การจ้างผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นตัวเลือกที่ดี แต่หากคุณมีเวลาและต้องการเรียนรู้ การทำ SEO ด้วยตัวเองก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ความรู้ที่มีค่าในระยะยาว
Search engines มีการอัปเดต Algorithm อยู่เสมอเพื่อปรับปรุงคุณภาพของผลการค้นหา บางครั้งการอัปเดตอาจส่งผลกระทบต่ออันดับของเว็บไซต์ การทำตาม Best Practices ของ SEO และการมุ่งเน้นที่คุณภาพของเนื้อหาและประสบการณ์ผู้ใช้จะช่วยให้คุณรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
Black Hat SEO คือเทคนิคที่ผิดกฎของ Search Engines เพื่อพยายามหลอกระบบและได้อันดับสูงอย่างรวดเร็ว เช่น การซื้อลิงก์ การซ่อนข้อความ หรือการใช้เนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้อง วิธีเหล่านี้อาจให้ผลลัพธ์ระยะสั้น แต่เสี่ยงต่อการถูกลงโทษจาก Search Engines ซึ่งอาจทำให้เว็บไซต์หายไปจากผลการค้นหาได้
ทั้ง SEO และ PPC มีข้อดีของตัวเอง SEO เป็นกลยุทธ์ระยะยาวที่สร้าง Organic Traffic อย่างยั่งยืน ในขณะที่ PPC ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วแต่ต้องจ่ายเงินตลอด กลยุทธ์ที่ดีที่สุดคือการผสมผสานทั้งสองวิธีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
Local SEO มุ่งเน้นการเพิ่มการมองเห็นของธุรกิจในผลการค้นหาท้องถิ่น เช่น “ร้านอาหารใกล้ฉัน” ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือให้บริการในพื้นที่เฉพาะ วิธีการทำ Local SEO รวมถึงการใช้ Google My Business, การสร้าง Citations, และการรับ Reviews จากลูกค้าท้องถิ่น
Mobile-First Indexing หมายถึง Search Engines จะใช้เวอร์ชันมือถือของเว็บไซต์เป็นหลักในการจัดทำดัชนีและจัดอันดับ นี่หมายความว่าการทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับมือถือไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ SEO ที่มีประสิทธิภาพ
AI และ Machine Learning ช่วยให้ Search Engines เข้าใจความตั้งใจของผู้ใช้และความเกี่ยวข้องของเนื้อหาได้ดีขึ้น ซึ่งหมายความว่า SEO ในปัจจุบันต้องมุ่งเน้นที่การสร้างเนื้อหาที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง มากกว่าการเพียงแค่ใส่คีย์เวิร์ดให้ตรงเป้า
การเพิ่มขึ้นของ Voice Search ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์ SEO เพื่อรองรับคำถามแบบธรรมชาติและประโยคยาวๆ มากขึ้น การใช้ Long-Tail Keywords และการตอบคำถามที่พบบ่อยในเนื้อหาของคุณจะช่วยเพิ่มโอกาสในการติดอันดับสำหรับการค้นหาด้วยเสียง
การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของ SEO สามารถทำได้โดยการติดตามตัวชี้วัดสำคัญ เช่น การเพิ่มขึ้นของ Organic Traffic, การเพิ่มขึ้นของ Conversions จาก Organic Search, และการประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการทำ Paid Advertising คุณสามารถใช้เครื่องมืออย่าง Google Analytics และ Google Search Console เพื่อติดตามข้อมูลเหล่านี้
สารบัญเนื้อหา
- สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนเริ่มทำ SEO
- ขั้นตอนการทำ SEO
- บทสรุป
- คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
- SEO ใช้เวลานานแค่ไหนกว่าจะเห็นผล?
- ฉันควรจ้างบริษัท SEO หรือทำเองดี?
- Algorithm Updates มีผลต่อ SEO อย่างไร?
- Black Hat SEO คืออะไร และทำไมถึงควรหลีกเลี่ยง?
- SEO สำคัญกว่า PPC (Pay-Per-Click) หรือไม่?
- การทำ Local SEO แตกต่างจาก SEO ทั่วไปอย่างไร?
- Mobile-First Indexing คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?
- AI และ Machine Learning มีผลต่อ SEO อย่างไร?
- Voice Search มีผลต่อ SEO อย่างไร?
- การวัดผล ROI ของ SEO ทำได้อย่างไร?